วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แผ่นแปะคุมกำเนิด


ยาคุมแผ่นแปะ
ลักษณะแผ่นแปะผิวหนังจะเป็นแผ่นบาง มีขนาด 20 ตารางเซนติเมตร  ประกอบด้วยฮอร์โมนที่ใช้คือ Norelgestromin 6 mg และ ethinyl estradiol 600 mcg ซึ่ง Norelgestromin(NGMN) คือ active metaboliteของ Norgestimate ซึ่งเป็น3rd generation progesterone โดยฮอร์โมนจะถูกปล่อยออกมา และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่องโดยไม่ผ่านตับ 
เป็นยาคุมกำเนิดแบบใหม่ที่เพิ่งเข้านำเข้ามาใช้ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Combined pill โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะสัปดาห์ละ 1 แผ่น ในระหว่างที่ใช้แผ่นแปะ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย โดยไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา จึงเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ง่าย สะดวก ลดปัญหาการลืมทานยาเม็ด


กลไกการออกฤทธิ์ของยา :
ออกฤทธิ์เหมือนยาเม็ดคุมกำเนิด โดยลดการหลั่งฮอร์โมน gonadotrophin จาก hypothalamus มีผลไปยับยั้งการตกไข่ เปลี่ยนสภาพมูกบริเวณปากช่องคลอดเพื่อให้อสุจิผสมกับไข่ได้ยากขึ้น


เภสัชจลนพลศาสตร์ :
การดูดซึมยา     ค่าเฉลี่ยของ NGMN ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อแผ่นประมาณ 150 mcg/วัน ส่วนปริมาณของ EEในกระแสเลือดคือ 20 mcg/วัน หลังจากแปะแผ่นยาทั้ง NGMN และ EE จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้หมดอย่างรวดเร็วและจะมีระดับยาคงที่หลังจากแปะยาไปแล้วประมาณ 48 ชั่วโมง โดยที่ระดับยาจะใกล้เคียงกันไม่ว่าจะแปะแผ่นยาบริเวณ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังด้านบน
การเปลี่ยนแปลงยาของการแปะแผ่นยาคุมกำเนิดจะไม่ผ่านกระบวนการ First-pass metabolism ที่ตับ
Distribution     Norelgestromin จับกับโปรตีนในร่างกายได้ >97% โดยจับกับ albumin แต่ไม่จับกับ sex hormone binding globulin (SHBG) ส่วน Ethinyl estradiol สามารถจับกับ albumin ได้มาก 50%-90%
Elimination     metabolites ของ norelgestromin และ ethinyl estradiol จะถูกกำจัดทางปัสสาวะและอุจจาระ  

การใช้ยาในประชากรกลุ่มพิเศษ:
มีการศึกษาทาง Pharmacokinetic ในประชากลุ่มที่มีเชื้อชาติ อายุ น้ำหนักตัว และ พื้นที่ผิวของร่างกายที่แตกต่างกันพบว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้ระดับ norelgestromin และ ethinyl estradiol ในกระแสเลือดแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

ข้อบ่งใช้และขนาดยาที่ใช้
ได้มีการอนุมัติจาก FDA ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2001 ให้เป็นยาคุมกำเนิดชนิดแปะชนิดแรกที่สามารถใช้แทนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาได้ หรือคนที่ชอบลืมกินยา หรือไม่ชอบกินยา

ผลข้างเคียง: 
อาการข้างเคียงก็เหมือนอาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่มเล็กน้อยขึ้นกับแต่ละคน ในบางคนพบว่ามีความต้องการทางเพศเปลี่ยนไป อาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย เต้านมจะแข็งขึ้นและใหญ่ อาจมีน้ำนมไหลได้ เหงือกอักเสบ ความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน นอกจากนี้เนื่องจากเป็นยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะดังนั้นอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่แปะได้

ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้:
ควรระวังการใช้ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากเกินกว่า 198 ปอนด์ เนื่องจากมีการศึกษาและทดสอบผู้หญิงจำนวน 3,319 คนพบว่ามี 15 คนที่ตั้งครรภ์ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีน้ำหนักกิน 198 ปอนด์

อันตรกริยาของยา:
ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลงเมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา หรือยากันชัก หรือยาอื่นที่อาจเพิ่มการกำจัดยานี้ มีข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ที่แสดงว่าการรับประทานยา tetracycline HCl 500 มิลลิกรัม 3- 7 วันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของยา แต่อาหารเสริม St. John's Wort จะลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด

ขนาดและวิธีใช้:
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ใน 1 กล่อง มีแผ่นแปะ 3 แผ่น ซึ่ง 3 แผ่นนี้จะใช้แปะผิวหนังใน 1 รอบเดือน (รอบเดือนปกติของสตรีจะมีระยะเวลาประมาณ 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์) โดยใน แผ่นของยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ จะแปะผิวหนังได้นาน 1 สัปดาห์ และต้องใช้ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ของรอบเดือน ส่วนสัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ไม่มีการใช้ยา สรุป คือ ใน1 รอบเดือน ให้แปะแผ่นยาคุมกำเนิด 3 สัปดาห์ และหยุดแปะ 1 สัปดาห์
เริ่มแปะแผ่นยาในวันแรกที่มีประจำเดือน โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันแรกที่รอบเดือนมา ซึ่งเริ่มใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดภายใน 24 ชั่วโมงในวันแรกที่รอบเดือนมา และนับวันที่แปะแผ่นคุมกำเนิดในวันนี้เป็นวันที่หนึ่งของการใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งวันเปลี่ยนแผ่นยาจะตรงกับวันที่แปะแผ่นยาคุมกำเนิดวันนี้ในทุกสัปดาห์ และมีผลในการคุมกำเนิดทันที่ ไม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย
เริ่มแปะแผ่นยาในวันอาทิตย์ ระหว่างสัปดาห์ที่มีประจำเดือนมา โดยเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันอาทิตย์ ส่วนรอบต่อไปก็เปลี่ยนแผ่นแปะทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ในช่วง 7 วันแรก ควรใช้การคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย บริเวณที่เหมาะสมในการแปะแผ่นยาคุมกำเนิด คือ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังช่วงบน แต่ห้ามแปะบริเวณหน้าอก

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย:
-          แนะนำวิธีการแปะแผ่นยาที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย
-          ห้ามใช้เครื่องสำอาง โลชั่น หรือครีม บนผิวหนังบริเวณที่จะแปะแผ่นยาและห้ามแปะแผ่นยาขณะที่ผิวหนังยังไม่แห้งสนิท
-          ฉีกซองยาที่รอยบากตรงมุมของซอง แล้วดึงแผ่นยาสีเนื้อ พร้อมแผ่นพลาสติกใสที่ติดอยู่ออกจากซองยาพร้อมๆกันโดยห้ามโดนบริเวณที่เป็นกาว
-          ลอกแผ่นพลาสติกใสซีกหนึ่งออกจากแผ่นยาคุมกำเนิด จากนั้นติดแผ่นยาคุมกำเนิดบนผิวหนังที่สะอาดและแห้งสนิททันที แล้วจึงดึงแผ่นพลาสติกอีกซีกหนึ่งออกจากแผ่นยา พร้อมทั้งติดแผ่นยาคุมกำเนิดส่วนที่เหลือให้แนบสนิทกับผิวหนังทั่วทั้งแผ่น
-          ผู้ใช้ควรกรีดแผ่นยาคุมกำเนิดให้ของแนบสนิทกับผิวหนังประมาณ 10 วินาที

ข้อควรปฏิบัติในกรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาคุมกำเนิด
-          กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์แรกของรอบเดือน ให้แปะยาแผ่นใหม่ทันที่ที่นึกขึ้นได้ วันเปลี่ยนแผ่นยาจะเปลี่ยนใหม่จะเป็นวันใหม่นี้แทน และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น สวมถุงยางอนามัยใน 7 วันแรก
-          กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
-          หากลืมน้อยกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะแผ่นยาใหม่ทันทีที่นึกได้ และวันเปลี่ยนแผ่นยาคงเป็นวันเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีทุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
-          หากลืมมากกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะยาแผ่นใหม่ทันทีที่นึกขึ้นได้ ให้นับยาแผ่นใหม่ที่แปะนี้เป็นยาแผ่นแรกของรอบการใช้ยาแผ่นใหม่ทันที และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก

ข้อควรปฏิบัติในกรณีแผ่นยาคุมกำเนิดหลุดลอก
-          กรณีแผ่นยาหลุดน้อยกว่า 1 วัน แปะยาแผ่นใหม่ทันที แล้วเปลี่ยนแผ่นยาใหม่ในวันเปลี่ยนแผ่นยาตามกำหนด
-          กรณีลืมแผ่นหลุดนานเกิน 1 วัน ผู้ใช้ควรหยุดรอบการนับการใช้แผ่นยาเดิม และให้เริ่มต้นการใช้แผ่นยาคุมกำเนิดรอบใหม่ทีนที และนับวันนี้เป็นวันแรกของการใช้รอบใหม่ และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก

อาการอันไม่พึงประสงค์
-          คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
-          อาจพบอาการคันเล็กน้อยในตำแหน่งที่แปะในแผ่นแรกของการใช้ยา ซึ่งอาการคันจะทุเลาลงใน 3-4 วัน
-          อาจพบเลือกออกกะปริดกะปรอยได้ในรอบเดือนแรกของการใช้ยา
-          ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดจะลดลง เมื่อใช้กับสตรีที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม



เอกสารอ้างอิง  
1.             ORTHO EVRA [package labeling]. Raritan, NJ: Ortho-McNeil Pharmaceutical, Inc.; 2001
2.             Abrams LS, Skee DM, Natarajan J, et al. Multiple-dose pharmacokinetics of a contraceptive patch in healthy women participants. Contraception. 2001;64:287-294
3.             Skee D, Abrams LS, Natarajan J, et al. Pharmacokinetics of a contraceptive patch at 4 application sites. Clin Pharmacol Ther. 2000;67:159. Abstract PIII-71
4.             Ortho evra : the only once-a-week birth control patch . Ortho-McNeil Pharmaceutical, Inc. 2005.
5.             Geoffrey H. Smallwood, Mary L. Meador, John P. Lenihan, Jr,Gary A. Shangold, Alan C. Fisher, George W. Creasy. Efficacy and Safety of a Transdermal Contraceptive System [online] available from http://acogjnl.highwire.org/cgi/reprint/98/5/799.pdf [accessed date 20 Aug 2006]



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น