วันอาทิตย์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โรคเบาหวานคืออะไร

โรคเบาหวานคืออะไร
            โรคเบาหวาน โรคที่รู้จักกันมากขึ้นในปัจจุบันนี้  เป็นโรคที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดจากการ ขาดอินซูลิน หรือการไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ในการ ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ปัจจุบันเราพบผู้ป่วย เบาหวานมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ ภาวะความอ้วน และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ ไม่เหมาะสม
ความสำคัญของการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
           การดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์เราปฏิเสธ ไม่ได้ว่า การใช้เท้าในการเดินเป็นกิจกรรมที่สำคัญ โดย เฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 4-6 ชั่วโมง ในผู้ป่วยเบาหวาน     สิ่งที่มีผลต่อการเกิดแผลที่เท้าได้แก่ การที่เส้นเลือดส่วน ปลายที่เลี้ยงขาและเท้าตีบ ในกรณีที่เป็นเบาหวาน มานานๆ ร่วมกับมีการเสื่อมของเส้นประสาทส่วนปลาย ทำให้มีโอกาสเกิดแผลที่เท้าได้ง่าย และแผลเหล่านี้ สิ่งอันตรายได้แก่ การไม่รู้สึกเจ็บปวดที่แผลทำให้มี โอกาสเกิดการลุกลามและเรื้อรังของแผล นำไปสู่การ ตัดขาในที่สุด ในผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดพบว่า ร้อยละ 15 มีประสบการณ์การเกิดแผลที่เท้า และในผู้ป่วยที่มี แผลที่เท้าร้อยละ 14-24 ต้องถูกตัดขา ดังนั้นการป้องกัน การเกิดแผลที่เท้าจะช่วยลดอัตราการตัดขา ช่วยเพิ่ม คุณภาพชีวิต ลดภาระครอบครัว และลดค่าใช้จ่ายใน การรักษาพยาบาลระยะยาว
ห้าขั้นตอนในการรักษาสุขภาพเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
            1. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี
           
2. ดูแลสุขภาพเท้าอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ
           
3. ตรวจดูเท้าของตัวเองทุกวัน
           
4. เมื่อมีปัญหาที่เท้าต้องรักษาทันที
           
5. มาพบแพทย์หรือพยาบาลเพื่อตรวจดูเท้าอย่างสม่ำเสมอ


22 วิธีการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน
            1. สำรวจเท้าทุกวันโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า ถ้าก้มลงมองไม่สะดวกควรใช้กระจกส่องดู ถ้ามีแผลหรืออักเสบแม้เพียงเล็กน้อย ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

            2. ทำความสะอาดเท้าทุกวันด้วยสบู่อ่อนและเช็ดให้แห้ง รวมทั้งบริเวณซอกนิ้วเท้า ไม่ควรแช่เท้าในน้ำเกินกว่า 5 นาที และไม่ควรแช่เท้าในน้ำอุ่น เพราะผู้ป่วยเบาหวานมีปัญหาเท้าชาอยู่แล้ว อาจไม่รู้ว่าน้ำร้อนเกินไปทำให้เท้าพุพองได้เวลาแช่น้ำ

            3.ถ้าผิวแห้งเกินไปหรือมีรอยแตกเป็นขุย ให้ทาวาสลินหรือโลชั่นทุกวัน แต่ไม่ควรทาบริเวณซอกนิ้วเท้าเนื่องจากทำให้ซอกนิ้วอับชื้นได้
            4.ไม่ควรใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนเช่นกระเป๋าน้ำร้อนวางที่เท้าโดยไม่ทดสอบอุณหภูมิก่อน
            5.ไม่เดินเท้าเปล่า ควรใส่รองเท้าเสมอ ทั้งอยู่ในบ้านและนอกบ้าน ห้ามเดินเท้าเปล่าทั้งในบ้านและนอกบ้านโดยเฉพาะบนพื้นร้อนๆ เช่นหาดทราย พื้นซีเมนต์
            6.หากมีอาการเท้าเย็นกลางคืนแก้ไขโดยการสวมถุงเท้า
            7.เลือกสวมรองเท้าขนาดพอดี เหมาะกับรูปเท้า ตะเข็บน้อย และมีเชือกผูก สะดวกต่อการขยายขนาดเท้าหากเท้าบวม

            8.ไม่ควรสวมรองเท้าที่ทำจากยางหรือพลาสติก เนื่องจากมีโอกาสเสียดสีเป็นแผลง่าย
            9.ห้ามสวมรองเท้าแตะแบบที่ใช้นิ้วคีบสายรองเท้า
            10.ถ้าเท้าชาควรสวมรองเท้าหุ้มส้น
            11.หากต้องสวมรองเท้าใหม่ ระยะแรกไม่ควรสวมรองเท้าใหม่เป็นเวลานานหลายๆชั่วโมงต่อเนื่องกัน  ควรใส่สลับกับรองเท้าเก่าสักระยะหนึ่ง จนกระทั่งรองเท้าใหม่มีความนุ่ม เข้ากับรูปทรงของเท้าได้ดี
            12.ผู้ที่ต้องสวมรองเท้าหุ้มส้นทุกวันเป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อเนื่องกัน ควรมีรองเท้าหุ้มส้นอีกหนึ่งคู่ ใส่สลับกัน และควรผึ่งรองเท้าที่ไม่ได้สวมให้แห้งเพื่อไม่ให้รองเท้าอับชื้นจากเหงื่อที่เท้า
            13.สวมถุงเท้าก่อนสวมรองเท้าเสมอ เลือกใช้ถุงเท้าที่ไม่มีตะเข็บและทำจากผ้าฝ้าย หากมีตะเข็บให้กลับเอาด้านในออก ถุงเท้าต้องไม่รัดแน่นเกินไป และควรเปลี่ยนทุกวัน
            14.สำรวจดูรองเท้าทั้งภายในและภายนอกก่อนสวมทุกครั้ง ว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในรองเท้าหรือไม่
            15.การตัดเล็บควรทำหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย ควรตัดเล็บแนวขวางเป็นเส้นตรงโดยให้ปลายเล็บเสมอปลายนิ้ว ห้ามตัดเล็บสั้นเกินไปจนลึกถึงจมูกเล็บ ห้ามตัดเนื้อเพราะอาจเกิดแผลและมีเลือดออก หากสายตาไม่ดีควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
            16.ห้ามตัดตาปลาหรือหนังที่ด้านแข็งด้วยตนเอง และห้ามใช้สารเคมีใดๆลอกตาปลาเอง
            17.หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง โดยเฉพาะผู้ที่มีหลอดเลือดแดงที่ขาตีบ
            18.คุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป เพื่อลดแรงกดที่เท้า
            19.ออกกำลังกายบริเวณขาและเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 15 นาที เพื่อให้เลือดไหลเวียนที่ขาดีขึ้น
            20.ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุด
            21.งดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ส้นเลือดตีบ
            22.หากพบว่ามีแผลแม้เพียงเล็กน้อย ให้ทำความสะอาดทันที และควรพบแพทย์โดยเร็ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น