วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

นี่คือเหตุผลของการกิน Mg(OH)2 แล้วท้องเสีย(ยาระบาย) แต่กิน Al(OH)3 แล้วท้องผูก

นี่คือเหตุผลของการกิน Mg(OH)2 แล้วท้องเสีย(ยาระบาย) แต่กิน Al(OH)3 แล้วท้องผูก เคยเข้าใจกันว่า Mg ion ดูดน้ำเข้าหาตัว แต่มันไม่ใช่......

ไอออนบวกของสารทั้งสองตัวเมื่อเจอกับ HCl ในกระเพาะอาหารจะเกิดเกลือคลอไรด์ ได้แก่ MgCl2 และ AlCl3 ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้มันทำให้เกิดอาการท้องเสีย และท้องผูกตามมา

MgCl2 เป็นสารที่เรียกว่า hygroscopic (ดูดน้ำ) ตัวมัน 1 โมเลกุล ดึงน้ำไว้กับตัวได้ 6 โมเลกุล จึงทำให้ "ขี้" มีความเหลวเกิดขึ้น

AlCl3 ก็เป็นสารที่ดูดน้ำได้เหมือนกัน โดยตัวมัน 1 โมเลกุลก็เก็บน้ำไว้ได้ 6 โมเลกุลเช่นเดียวกัน แต่ AlCl3 มันมีความพิเศษตรงที่ตัวมันมีคุณสมบัติเป็น Lewis acid (สารที่แสดงความเป็นกรดโดยที่ไม่ต้องมีไฮโดรเจนในโมเลกุล ซึ่งพบในพวกเกลือของพวกธาตุหมู่ 3 เป็นต้น) ด้วยคุณสมบัตินี้มันก็เลยทำตัวแบบกรดอ่อนทั่วๆ ไป ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาชนิดผันกลับ .... ทำให้ได้ตัว Al(OH)3 ซึ่งเป็นของแข็งกลับมาอีกครั้ง "ขี้" เลยแข็ง เป็นที่มาของอาการท้องผูก........

จริงๆพวกนี้เป็นแค่กลไกหนึ่งนะ แบบ magesium เช่น ในหนังสือ goodman gilman กลไกแรกที่ purpose ในการทำให้เกิด diarrhea คือการกระตุ้น cholecystokinin ทำให้เกิด การเพิ่มของ intraluminal fluid และ electrolyte accumulation แล้วก็ยังส่งผลเพิ่ม intestinal motility ด้วย ถ้าอ่านไปอีก ก็จะเจอเกี่ยวกับ nitric oxide อีก ^^

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำมันมะพร้าวกับการลดน้ำหนัก

น้ามันมะพร้าว กับ การลดน้าหนัก
น้ามันมะพร้าว (coconut oil) คือน้ามันที่ได้จากการสกัดแยกน้ามันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว (Cocos nucifera L.) ซึ่งเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Arecaceae หรือ Palmae) ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวที่จาหน่ายในท้องตลาดและได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ virgin coconut oil ซึ่งหมายถึงน้ามันมะพร้าวที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี วิธีที่ใช้ในการเตรียม virgin coconut oil เช่น วิธีบีบเย็น เป็นต้น องค์ประกอบหลักของน้ามันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัว (มากกว่า 90% จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) แต่กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ามันมะพร้าวนั้นเป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (medium chain fatty acid) เช่น กรดลอริก (lauric acid) ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว (long chain fatty acid) เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากในน้ามันถั่วเหลือง เป็นต้น (1, 2)
จากคุณสมบัติดังกล่าวของน้ามันมะพร้าว ส่งผลให้น้ามันมะพร้าวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในการรับประทานเพื่อช่วยลดความอ้วน จากรายงานการศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blind, clinical trial) ในประเทศบราซิล (3) ทาการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่รับประทานน้ามันมะพร้าวและกลุ่มที่รับประทานน้ามันถั่วเหลืองในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง (abdominal obesity) มีอายุระหว่าง 20-40 ปี (กลุ่มละ 20 คน) รับประทาน 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างการทดสอบผู้ทดสอบทุกคนจะได้รับอาหารพลังงานต่า (hypocaloric diet) และออกกาลังกาย 4 วัน/สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ามันมะพร้าวไม่ทาให้น้าหนักตัวและ body mass index (BMI) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง เมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ามันมะพร้าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) แต่มีระดับไขมันตัวดี (HDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับน้ามันถั่วเหลือง มีระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45 และ 23.48 ตามลาดับ และมีระดับไขมันตัวดี (HDL) ลดลงร้อยละ 12.62 เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง อย่างไรก็ตามระดับไตรกลีเซอไรด์ของทั้งสองกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง
แม้การศึกษานี้จะแสดงให้เห็นว่าน้ามันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้าหนักตัวของกลุ่มทดลอง และไม่ทาให้ระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (คลอเลสเตอรอลรวม ไขมันตัวร้าย (LDL) และไตรกลีเซอไรด์) เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทาการทดสอบในกลุ่มคนจานวนน้อย และระยะเวลาที่ทดลองก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ (12 สัปดาห์) นอกจากนั้นการได้รับอาหารพลังงานต่าและการออกกาลังกายสม่าเสมอ (4 วัน/สัปดาห์) ก็นับเป็นปัจจัยร่วมสาคัญที่อาจส่งเสริมให้ผลการทดลองเป็นไปในทางที่ดี จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูผลของน้ามันมะพร้าวต่อการลดน้าหนักและการสะสมของระดับไขมันดังกล่าวในระยะยาว ดังนั้นจากข้อมูลที่มีในขณะนี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าน้ามันมะพร้าวมีผลต่อการลดน้าหนักหรือจะส่งผลดีต่อระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และหากจะให้แนะนาถึงหนทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดในขณะนี้สาหรับผู้ที่ต้องการลดน้าหนักก็คงจะหนีไม่พ้นการควบคุมอาหารและออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ
โดย ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิยาลัยมหิดล
เอกสารอ้างอิง
1. Marten B, Pfeuffer M, Schrezenmeir Jr. Medium-chain triglycerides. International Dairy Journal. 2006;16(11):1374-82.
2. สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มะพร้าว. วารสารพืชปลูกพื้นเมืองไทย. 2548 กรกฎาคม;1(3).
3. Assuncao ML, Ferreira HS, dos Santos AF, Cabral CR, Jr., Florencio TM. Effects of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity. Lipids. 2009 Jul;44(7):593-601.
ที่มา  http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=17

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การใช้ยาหยอดตา / ยาป้ายตา

ยาหยอดตา

ลักษณะของยาหยอดตา

  • เป็นน้ำยาใส หรือเป็นน้ำยาแขวนตะกอน (คล้ายน้ำนม)

ข้อดี

  •  ออกฤทธิ์เร็ว  ไม่ทำให้ตามัว  นิยมใช้ในเวลากลางวัน  เพราะไม่เหนียวเหนอะหนะ

ข้อเสีย

  • หมดฤทธิ์เร็ว  เพราะยาจะอยู่ในตาได้ไม่นาน 

วิธีการใช้ยาหยอดตา

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. นอนหรือนั่งแหงนหน้าขึ้น
  3. ดึงเปลือกตาล่างลงให้เห็นกระพุ้งระหว่างเปลือกตาล่างด้านในกับตาขาว
  4. หยอดยาลงในกระพุ้งตาล่าง  1-2  หยด  ระวังอย่าให้ปลายหลอดสัมผัสกับตาผู้ป่วยหรือมือผู้หยอด
  5. หลับตานิ่ง ๆ สักครู่  และเช็ดน้ำยาส่วนที่ไหลจากตา

ยาป้ายตา

ลักษณะของยาป้ายตา  มักบรรจุในหลอดโดย

  • เป็นครีมเหนียว หรือเป็นเจลใส  คล้ายวุ้น

ข้อดี

  •  ออกฤทธิ์ได้นาน  ทำให้ไม่ต้องป้ายตาบ่อย  และมักมีสารหล่อลื่น  ทำให้ลดการระคายเคือง

ข้อเสีย

  • ทำให้ตามัว  และเหนียวเหนอะหนะ  จึงนิยมใช้ป้ายตาก่อนนอน

วิธีการใช้ยาป้ายตา

  1. ล้างมือให้สะอาด
  2. นอนหรือนั่งแหงนหน้า หน้ากระจก
  3. ดึงหนังตาล่างลงให้เป็นกระพุ้ง
  4. บีบยาป้ายตาโดยเริ่มจากหัวตาไปหางตา ยาว  1  เซนติเมตร ระวังอย่าให้ปลายหลอดสัมผัสกับตาผู้ป่วยหรือมือผู้หยอด
  5. หลับตาทิ้งไว้สักครู่
  6. การป้ายตา ควรป้ายก่อนจะนอนจริงๆ  เพราะจะทำให้ตาพร่ามัว  อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ข้อควรทราบเกี่ยวกับการใช้ยาหยอดตา*ยาป้ายตา

  1. ตรวจสอบว่าควรหยอด/ป้ายตา  ให้ใช้กับตาข้างใด  ใช้ยาเพียง 1-2  หยด  และระยะเวลาตามที่กำหนด  เพราะยาหยอดตาถ้าหยอดมากเกินไป  อาจเกิดอันตรายได้
  2. ควรเก็บยาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา  หรือในที่เย็น  แดดส่องไม่ถึง
  3. ยาที่เปิดใช้แล้วเกิน  1  เดือน  หรือยาเปลี่ยนสีหรือหมดอายุ  ให้ทิ้งไป  ไม่ควรนำมาใช้
  4. ไม่ควรใช้ยาร่วมกับผู้อื่น  เพราะจะทำให้ติดเชื้อโรคหรือเป็นอันตรายได้
  5. ห้ามซื้อยามาหยอดเอง  เพราะอาจทำให้ตาบอดได้
  6. ควรบอกโรคประจำตัวและประวัติการแพ้ยากับแพทย์  ควรปฏิบัติตามคำแนะนำต่าง ๆ เกี่ยวกับยาให้ถูกต้อง
  7. กรณีใช้ยาหยอดหรือป้ายตาร่วมกัน  ตั้งแต่  2  ชนิดขึ้นไป  ควรหยอดยาที่ใส – ยาที่แขวนตะกอน (คล้ายน้ำนม)  - ยาป้ายใส – ยาป้ายครีมเหนียว ตามลำดับ  โดยหยอดหรือป้ายห่างกันอย่างละ  5-10  นาที  เพื่อให้ยาแต่ละช่วง  ซึมเข้าตาได้ดี  ออกฤทธิ์ได้เต็มที่
  8. ในกรณีที่มีขี้ตาหรือสิ่งสกปรก  ควรทำความสะอาดตาก่อน  เพื่อให้ยาสัมผัสกับตาได้ดี
  9. ควรระวังผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้  หลังหยอดหรือป้ายตาดังนี้
    1).  การแพ้ยา  จะมีอาการเปลือกตาและเยื่อบุตาขาวบวมแดง, เป็นผื่นคัน  ต้องรีบหยุดยาและนำยามาพบแพทย์
    2).  ต้อหิน  และต้อกระจก  อาจเกิดจากการใช้ยาหยอดหรือป้ายตาบางชนิดได้
ที่มา :  ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ยารักษาสิว isotretinoin อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม

ยารักษาสิว isotretinoin อันตรายที่ไม่ควรมองข้าม


                สิว(acne) จัดเป็นโรคผิวหนังที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในเด็กวัยรุ่นทั้งชายและหญิง การเป็นสิวมีผลต่อคุณภาพชีวิตทั้ง     ด้านอารมณ์ จิตใจ และสังคม ทำให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง ทำให้เกิดความเครียดและวิตกกังวล ไม่สามารถเข้าสังคมได้ อีก          ทั้งความเข้าใจของคนส่วนใหญ่เกี่ยวกับสิวมักจะเป็นเรื่องของความสวยงาม ทำให้หลายคนพยายามซื้อยามารักษาด้วยตนเอง           ซึ่งแท้จริงแล้วการรักษาสิวจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลจากแพทย์ผิวหนังอย่างเหมาะสม การใช้ยาโดยไม่จำเป็นหรือไม่        เหมาะสมกับอาการ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการได้รับอันตรายจากยาได้
ยาที่ใช้ในการรักษาสิวมีหลายชนิด หลายรูปแบบ แต่ที่พบว่ามีความนิยมใช้กันเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะใช้        อย่างผิดวิธี  คือ ยาในกลุ่มกรดวิตามินเอ ชนิดรับประทาน ที่มีชื่อสามัญทางยาว่า ไอโสเตรติโนอิน (isotretinoin) หรือ เรติโน          อิก แอซิด (retinoic acid) และมีชื่อทางการค้า ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Roaccutane® (โรแอคคิวเทน), Acnotin® (แอคโนทิน),             Sotret® (โสเตรส), Isotane® (ไอโสเทน) เป็นต้น ยาชนิดนี้แม้ว่จะมีประสิทธิภาพในการรักษาสิวที่ดี แต่ผลข้างเคียงของยานั้น        นับว่ามีมากและรุนแรงโดยเฉพาะการใช้ยาอย่างผิดวิธี ทำให้ต้องมีการควบคุมการใช้ ดังนั้น isotretinoin ชนิดรับประทานจึงถูก            จัดเป็นยาควบคุมพิเศษ ที่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ก่อนจึงจะสามารถซื้อยาจากร้านขายยาได้

            Isotretinoin คืออะไร?
                        Isotretinoin เป็นอนุพันธุ์ของกรดวิตามินเอ ที่มีข้อบ่งชี้ในการรักษาสิวที่มีอาการรุนแรง ที่ไม่สามารถควบคุมอาการ     ได้จากการรักษาอื่นๆ หรือสิวชนิดที่มีแผลเป็น กลไกการออกฤทธิ์ของ isotretinoin โดยรวม คือ ยาจะทำหน้าที่ยับยั้งสาเหตุของ       การเกิดสิว เช่น กดการทำงานของต่อมไขมันทำให้ผลิตสารที่เป็นไขมัน (sebum) ลดลง ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P. acnes)ลดการอักเสบของสิว และยับยั้งการสร้างคอมีโดน (comedone)

            การใช้ยา Isotretinoin อย่างถูกต้องเป็นอย่างไร?
                        โดยทั่วไปการใช้ยา isotretinoin ในช่วง 1 เดือนแรกอาการของสิวมักจะแย่ลง และจะค่อยๆ ดีขึ้นภายหลัง ในระหว่างที่     ใช้ยา isotretinoin อยู่นั้น อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้ยารักษาสิวชนิดอื่น โดยเฉพาะชนิดทาภายนอก เนื่องจากการ           รับประทาน isotretinoin จะมีผลทำให้ผิวหนังแห้ง หลุดลอก และบางลง จนไม่สามารถทนต่อยารักษาสิวอื่นๆ ได้ นอกจากนี้ควร            หลีกเลี่ยงการใช้ยา isotretinoin ร่วมกับยา tetracycline เนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการเกิดความดันในสมองสูงขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ (idiopathic intracranial hypertension) ได้
                        ขนาดยา isotretinoin เริ่มต้น คือ 0.5 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน เป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้นอาจเพิ่ม            ขนาดยาเป็น 1 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อวัน ได้ โดยระยะเวลาของการรับประทานยาอาจอยู่ในช่วง 5-6 เดือน             (ขนาดยารวมทั้งหมดไม่ควรเกิน 120 – 150 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกร้ม) และสามารถหยุดการหยุดรับประทานยาได้เลย     โดยไม่จำเป็นต้องค่อยๆ ปรับขนาดยาลง (tapering)

            ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้ยา Isotretinoin
                        - ยา isotretinoin มีผลทำให้เด็กทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดได้ และแม้ว่าเด็กทารกที่คลอดออกมาจะมีความปกติแต่ก็     มีความเสี่ยงสูงที่จะพบความบกพร่องทางสมองและเชาว์ปัญญาได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่ได้รับยา isotretinoin จะต้องคุมกำเนิดก่อน      รับประทานยาอย่างน้อย 3 เดือน และคุมกำเนิดตลอดระยะเวลาที่ใช้ยาตัวนี้ในการรักษา และต้อง
            หยุดยาล่วงหน้าอย่างน้อย3 เดือน ถึง 1 ปี ก่อนจึงจะตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย
                        - หญิงให้นมบุตรไม่ควรรับประทานยา isotretinoin
                        - ผู้รับประทานยา isotretinoin ต้องไม่บริจาคเลือดในระหว่างที่รับประทานยาและจนกระทั่งหลังจากหยุดรับประทานยา    ไปแล้ว 1 เดือน
                        -  การรับประทานยา isotretinoin อาจทำให้ผิวหนังแห้ง ลอก และไวต่อแสง ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดด             นอกจากนี้อาจมีอาการตาแห้ง ปาก-คอแห้ง ได้เช่นกัน
                        - การรับประทานยา isotretinoin อาจทำให้เกิดความบกพร่องในการได้ยิน หรือเกิดเสียงหวีดในหู (tinnitus) ได้ ดังนั้น     หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วน
                        - หลีกเลี่ยงการรับประทานยา isotretinoin ร่วมกับวิตามิน A, สมุนไพรชื่อ St. John’s Wort และยา tetracycline
                        - isotretinoin มีความเป็นพิษต่อตับ (hepatotoxicity) ดังนั้นควรเข้ารับการตรวจค่าการทำงานของตับ (liver function        test) อยู่เสมอ หากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองควรหยุดยาและรีบมาพบแพทย์
                        - การรับประทานยา isotretinoin  อาจทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง (hyperlipidemia) โดยเฉพาะไตรกลีเซอไรด์             (triglyceride) ดังนั้นควรมีการตรวจระดับไขมันในเลือดอยู่เสมอในระหว่างที่รับประทานยา และหากไม่สามารถควบคุมระดับ            ไขมันที่สูงขึ้นได้ควรหยุดรับประทานยาและไปพบแพทย์
                        - การรับประทานยา isotretinoin อาจทำให้เกิด inflammatory bowel disease (IBD), ปวดกล้ามเนื้อ(arthralgia),             กล้ามเนื้อถูกทำลายอย่างรุนแรง (rhabdomyolysis) ได้เช่นกัน
                        - การรับประทานยา isotretinoin ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน (มากกว่า 6 เดือน) อาจทำให้ความหนาแน่นกระดูก             (bone mineral density) ลดลง และอาจทำให้เกิดภาวะกระดูกนุ่ม รวมถึงภาวะกระดูกพรุนด้วย อีกทั้งจำเป็นจะต้องระมัดระวัง        เป็นอย่างยิ่งเมื่อมีการใช้ยาในเด็ก
                        - พบการรายงานเกี่ยวกับความผิดปกติทางจิต เช่น ซึมเศร้า จิตเภท มีพฤติกรรมรุนแรง ก้าวร้าว มีความคิดหรือมี            ความพยายามในการฆ่าตัวตาย(พบได้แต่น้อยมาก) จากการรับประทานยา isotretinoin ดังนั้นผู้รับประทานยาควรได้รับการ            ประเมินความผิดปกติทางด้านจิตใจก่อนการรับประทานยา และผู้รับประทานยาควรแจ้งแพทย์ทันทีเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทาง            อารมณ์หรือพฤติกรรมที่ต่างไปจากเดิม

ข้อห้ามใช้และข้อควรระวังของยา isotretinoin มีเป็นจำนวนมาก และบางอย่างจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำงานของตับ หรือระดับไขมันในเลือด ดังนั้นการซื้อยาจากร้านขายยามาใช้เองโดยมิได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ รวมถึงการได้รับยาจากคลินิกเสริมความงามที่ไม่ได้มีการตรวจร่างกาย ซักประวัติ และสั่งจ่ายยาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ อาจทำให้ผู้ที่รับประทานยาได้รับอันตรายจากยาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้

บรรณานุกรม
  1. Isotretinoin. In: DRUGDEX EVALUATION. [Online]. 2010 Feb 5. Available from: MICROMEDEX Healthcare Series. 2010. [cited 2010 Mar 24].
  2. Ofori AO. Oral isotretinoin therapy for acne vulgaris. In: UpToDate Online. [Online]. 2009 Jun 11. Available from: UpToDate, Inc. 2010. [cited 2010 Mar 24].

กลูตาไธโอน (glutathione)

               กลูตาไธโอน (glutathione) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เซลล์ในร่างกายมนุษย์สามารถสังเคราะห์ได้เอง มีคุณสมบัติเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่ในการปกป้องเนื้อเยื่อไม่ให้ถูกทำลายโดยสารอนุมูลอิสระที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย และที่สำคัญยังช่วยตับในการทำลายและขจัดสารพิษออกจากร่างกายด้วย

               ในทางการแพทย์พบว่ามีการนำกลูตาไธโอนมาทดลองใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติข้อบ่งใช้จากองค์การอาหารและยา เช่น ภาวะเป็นหมันในเพศชาย ปลายเส้นประสาทอักเสบ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก วิธีการรักษามักทำโดยการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือเข้าที่กล้ามเนื้อ ผลข้างเคียงอย่างหนึ่งที่น่าแปลกใจ คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยการฉีดกลูตาไธโอนนั้นมีสีผิวที่ขาวขึ้น เนื่องมาจากกลูตาไธโอนสามารถยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase) ได้ และส่งผลให้เม็ดสีของผิวหนังเปลี่ยนจากเม็ดสีน้ำตาลดำเป็นเม็ดสีชมพูขาว ด้วยเหตุนี้เองจึงมีผู้พยายามนำผลข้างเคียงของยามาใช้ในการทำให้ผิวขาวขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นการนำยามาใช้ในทางที่ผิดอีกรูปแบบหนึ่ง โดยในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่น่าเชื่อถือยืนยันหรือรับรองประสิทธิภาพและประโยชน์ของกลูตาไธโอนในการทำให้ผิวขาวได้อย่างแท้จริง จึงไม่น่าแปลกใจที่กลูตาไธโอนไม่ผ่านการรับรองข้อบ่งใช้โดยองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาสำหรับทำให้ผิวขาว

              ผลิตภัณฑ์กลูตาไธโอนที่พบในท้องตลาดส่วนใหญ่นั้นเอยู่ในรูปยาเม็ดหรือผงละลายน้ำสำหรับรับประทาน ซึ่ง กลูตาไธโอนนี้สามารถถูกทำลายได้ในทางเดินอาหารของมนุษย์ ดังนั้นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการรับประทานกลูตาไธโอนในรูปแบบของยารับประทานนั้นแทบจะไม่มีเลย ที่ผ่านมาจึงพบว่ามีผู้พยายามนำกลูตาไธโอนในรูปแบบยาฉีดมาใช้แทนการรับประทานกันมากขึ้น เนื่องจากเชื่อว่ากลูตาไธโอนชนิดฉีดนั้นมีประสิทธิภาพในการทำให้ผิวขาวได้ดีกว่าและเห็นผลเร็วกว่ากลูตาไธโอนชนิดรับประทาน

               ประเด็นสำคัญของการใช้ยาฉีดกลูตาไธโอนโดยเฉพาะการฉีดเข้าหลอดเลือดดำนั้น คือ ความปลอดภัยจากการฉีดยา เนื่องจากผิวที่ขาวขึ้นจากกลูตาไธโอนนั้นเป็นผลข้างเคียงของยาที่เกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น หากต้องการให้ผลคงอยู่ไปตลอดจำเป็นต้องได้รับการฉีดซ้ำเป็นระยะ ทำให้มีการสะสมยาในร่างกายมากขึ้น และอาจก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวได้ นอกจากนี้การฉีดยาจำเป็นต้องกระทำโดยผู้ประกอบวิชาชีพที่เชี่ยวชาญเท่านั้น เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการให้ยา เช่น การฉีดยาในอัตราที่เร็วเกินไป การติดเชื้อในกระแสเลือดจากเครื่องมือที่ไม่สะอาดเ การเกิดฟองอากาศอุดตันหลอดเลือดเนื่องจากผู้ฉีดยาไล่ฟองอากาศในเข็มฉีดยาไม่หมด เป็นต้น ซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อผู้ที่ได้รับยาจนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยทีเดียว

               ถึงแม้ว่ากลูตาไธโอนเป็นสารที่ร่างกายสร้างได้เองตามธรรมชาติ แต่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ กลูตาไธโอนชนิดฉีดหรือชนิดรับประทานเพื่อให้ผิวขาวใสนั้นยังไม่มีการพิสูจน์ผลที่ชัดเจน ความปลอดภัยในการใช้ยาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง และพึงระลึกไว้เสมอว่า “ ไม่มียาชนิดใดในโลกที่ปลอดภัยร้อยเปอร์เซนต์ ” ดังนั้นก่อนการใช้ยาใดๆ ก็ตามควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเสียก่อนเพื่อความปลอดภัยของตนเอง

Reference:
1. Villarama CD, Maibach HI. Glutathione as a depigmenting agent: an overview. Int J Cosmet Sci 2005;27:147–53.

2. พิมลพรรณ พิทยานุกุล. สารกลูตาไธโอน ช่วยให้ขาวได้จริงหรือ [Online]. 2008 Apr 22 [cited 2010 Feb 5]. Available from: URL: http://www.consumerthai.org/old/cms/index.php?option=com_ content&task=view&id=1055&Itemid=38

วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเก็บวัคซีนในตู้เย็น

การเก็บวัคซีนในตู้เย็น

·       วัคซีน DTP, dT, Tetanus toxoid, Hepatitis B, DTP-Hepatitis B, JE(ชนิดน้ำ) ให้เก็บไว้ในช่องกลางของตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 2-8 °C ห้ามเก็บในช่องแช่แข็งและถาดใต้ช่องแช่แข็ง เพราะวัคซีนเหล่านี้ ถ้าแข็งตัวจะสูญเสียคุณภาพทันที
·      วัคซีน OPV ให้เก็บในช่องแช่แข็ง และเมื่อนำออกมานอกช่องแช่แข็งแล้วละลาย ก็สามารถนำไปเก็บในช่องแข็งได้อีก 5-10 ครั้ง โดยไม่ทำให้คุณภาพเสียไป (กรณีที่ยังไม่เปิดใช้และ VVM (Vaccine Vial Monitor) ยังไม่เปลี่ยนสี)
·      วัคซีนบางชนิดที่อยู่ในรูปผงแห้ง เช่น หัด MMR และ BCG องค์การอนามัยโลกได้ยกเลิกคำแนะนำการเก็บวัคซีนชนิดผงแห้ง (freezed dried vaccine) ในช่องแช่แข็ง (-15 ถึง -25 °C) แล้ว เนื่องจากไม่มีความจำเป็นแต่ให้เก็บรักษาและขนส่งที่อุณหภูมิ 2-8 °C แทน
·      ห้ามเก็บวัคซีนทุกชนิดที่ฝาตู้เย็น
·      วัคซีนที่เบิกมาใหม่ ให้จัดเรียงตามหลัก First Expire First Out (FEFO)
·      จัดเรียงให้เป็นแถวๆ และให้มีช่องว่างระหว่างแถว เพื่อให้ความเย็นกระจายทั่วถึง
·      บันทึกอุณหภูมิอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า,เย็น ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ
·      วัคซีนที่อยู่ในรูปฃองผงแห้ง ต้องใช้น้ำยาละลายของวัคซีนชนิดนั้นๆ และผลิตจากผู้ผลิตเดียวกัน น้ำยาละลายไม่จำเป็นต้องเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 °C ยกเว้นมีที่เก็บเพียงพอ แต่ต้องเก็บไว้ในอุณหภูมิ 2-8 °C เป็นเวลา 24 ชม. ก่อนที่จะใช้ผสมกับวัคซีนในวันให้บริการ มิฉะนั้นจะทำให้วัคซีนสูญเสียความแรงหลังจากผสมได้
·       วัคซีนที่อยู่ในรูปของผงแห้ง เช่น หัด และMMR ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกแนะนำว่าหลังจากผสมวัคซีนเหล่านี้แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 °C จนถึงเวลาสิ้นสุดการให้บริการในวันนั้นหรือเก็บไว้ไม่เกิน 6 ชม.(แล้วแต่เวลาใดถึงก่อน) แต่วัคซีน BCG ซึ่งผลิตโดยสภากาชาดไทย ผู้ผลิตแนะนำให้เก็บได้ไม่เกิน 2 ชม.หลังจากผสมแล้ว วัคซีนผงแห้งเหล่านี้เมื่อผสมแล้ว ควรห่อขวดด้วยกระดาษสีดำหรือกระดาษฟอยล์หรือใส่ไว้ในแผ่นโฟมใต้ฝากระติกเก็บวัคซีน โดยไม่ให้ขวดวัคซีนเปียกหรือจุ่มในน้ำด้วย
·      วัคซีนชนิดน้ำ ได้แก่ DTP, dT และ T เมื่อเปิดใช้แล้วยังเหลืออยู่ องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าสามารถเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ 2-8 °C ได้นาน 4 สัปดาห์ โดยมีการป้องกัน ไม่ให้เกิดการปนเปื้อน แต่แผนงานเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทย แนะนำให้เก็บวัคซีนชนิดน้ำที่ใช้กับเด็กและหญิงมีครรภ์ได้ไม่เกิน 8 ชม.หรือจนถึงเวลาสิ้นสุดการให้บริการในวันนั้นเท่านั้น หลังจากนั้นให้ทำลายวัคซีนที่เหลืออยู่
   
การเก็บรักษาวัคซีนกรณีไฟฟ้าดับ
1. หากทราบล่วงหน้า ไฟฟ้าดับไม่เกิน 3 ชม. เมื่อถึงเวลาไฟฟ้าดับ ให้นำไอซ์แพคซ์หรือขวดน้ำที่แช่แข็งแล้วลงมาไว้ที่ชั้นล่าง แล้วให้ปิดประตูตู้เย็นให้ตลอดเวลาจนกว่าไฟฟ้าจะมา
2. หากไฟฟ้าดับนานเกินกว่า 3 ชม. ให้ย้ายวัคซีนไปเก็บไปไว้ในหีบเย็น หรือกระติกที่มีไอซ์แพคหรือน้ำแข็งมากเพียงพอ พร้อมกับเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดอุณหภูมิ แล้วให้เพิ่มน้ำแข็ง หรือเปลี่ยนไอซ์แพค เมื่อตรวจสอบพบว่าอุณหภูมิเริ่มสูงขึ้นมากกว่า
8 °C                    

วันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แผ่นแปะคุมกำเนิด


ยาคุมแผ่นแปะ
ลักษณะแผ่นแปะผิวหนังจะเป็นแผ่นบาง มีขนาด 20 ตารางเซนติเมตร  ประกอบด้วยฮอร์โมนที่ใช้คือ Norelgestromin 6 mg และ ethinyl estradiol 600 mcg ซึ่ง Norelgestromin(NGMN) คือ active metaboliteของ Norgestimate ซึ่งเป็น3rd generation progesterone โดยฮอร์โมนจะถูกปล่อยออกมา และดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดอย่างต่อเนื่องโดยไม่ผ่านตับ 
เป็นยาคุมกำเนิดแบบใหม่ที่เพิ่งเข้านำเข้ามาใช้ในประเทศไทยมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ายาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Combined pill โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะสัปดาห์ละ 1 แผ่น ในระหว่างที่ใช้แผ่นแปะ สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ เช่น อาบน้ำ ว่ายน้ำ ออกกำลังกาย โดยไม่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของยา จึงเป็นวิธีคุมกำเนิดที่ง่าย สะดวก ลดปัญหาการลืมทานยาเม็ด


กลไกการออกฤทธิ์ของยา :
ออกฤทธิ์เหมือนยาเม็ดคุมกำเนิด โดยลดการหลั่งฮอร์โมน gonadotrophin จาก hypothalamus มีผลไปยับยั้งการตกไข่ เปลี่ยนสภาพมูกบริเวณปากช่องคลอดเพื่อให้อสุจิผสมกับไข่ได้ยากขึ้น


เภสัชจลนพลศาสตร์ :
การดูดซึมยา     ค่าเฉลี่ยของ NGMN ที่ถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดต่อแผ่นประมาณ 150 mcg/วัน ส่วนปริมาณของ EEในกระแสเลือดคือ 20 mcg/วัน หลังจากแปะแผ่นยาทั้ง NGMN และ EE จะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้หมดอย่างรวดเร็วและจะมีระดับยาคงที่หลังจากแปะยาไปแล้วประมาณ 48 ชั่วโมง โดยที่ระดับยาจะใกล้เคียงกันไม่ว่าจะแปะแผ่นยาบริเวณ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังด้านบน
การเปลี่ยนแปลงยาของการแปะแผ่นยาคุมกำเนิดจะไม่ผ่านกระบวนการ First-pass metabolism ที่ตับ
Distribution     Norelgestromin จับกับโปรตีนในร่างกายได้ >97% โดยจับกับ albumin แต่ไม่จับกับ sex hormone binding globulin (SHBG) ส่วน Ethinyl estradiol สามารถจับกับ albumin ได้มาก 50%-90%
Elimination     metabolites ของ norelgestromin และ ethinyl estradiol จะถูกกำจัดทางปัสสาวะและอุจจาระ  

การใช้ยาในประชากรกลุ่มพิเศษ:
มีการศึกษาทาง Pharmacokinetic ในประชากลุ่มที่มีเชื้อชาติ อายุ น้ำหนักตัว และ พื้นที่ผิวของร่างกายที่แตกต่างกันพบว่าปัจจัยเหล่านี้มีผลทำให้ระดับ norelgestromin และ ethinyl estradiol ในกระแสเลือดแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย

ข้อบ่งใช้และขนาดยาที่ใช้
ได้มีการอนุมัติจาก FDA ของสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2001 ให้เป็นยาคุมกำเนิดชนิดแปะชนิดแรกที่สามารถใช้แทนยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดกิน สำหรับคนที่ไม่สามารถรับประทานยาได้ หรือคนที่ชอบลืมกินยา หรือไม่ชอบกินยา

ผลข้างเคียง: 
อาการข้างเคียงก็เหมือนอาการข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป ยกตัวอย่างเช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว ซึมเศร้า น้ำหนักเพิ่มเล็กน้อยขึ้นกับแต่ละคน ในบางคนพบว่ามีความต้องการทางเพศเปลี่ยนไป อาจมีเลือดออกกระปริดกระปรอย เต้านมจะแข็งขึ้นและใหญ่ อาจมีน้ำนมไหลได้ เหงือกอักเสบ ความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน นอกจากนี้เนื่องจากเป็นยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะดังนั้นอาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่แปะได้

ข้อควรระวัง/ข้อห้ามใช้:
ควรระวังการใช้ในผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากเกินกว่า 198 ปอนด์ เนื่องจากมีการศึกษาและทดสอบผู้หญิงจำนวน 3,319 คนพบว่ามี 15 คนที่ตั้งครรภ์ซึ่งบุคคลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีน้ำหนักกิน 198 ปอนด์

อันตรกริยาของยา:
ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดลดลงเมื่อใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะ ยาต้านเชื้อรา หรือยากันชัก หรือยาอื่นที่อาจเพิ่มการกำจัดยานี้ มีข้อมูลทางเภสัชจลนศาสตร์ที่แสดงว่าการรับประทานยา tetracycline HCl 500 มิลลิกรัม 3- 7 วันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของยา แต่อาหารเสริม St. John's Wort จะลดประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิด

ขนาดและวิธีใช้:
ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะผิวหนัง ใน 1 กล่อง มีแผ่นแปะ 3 แผ่น ซึ่ง 3 แผ่นนี้จะใช้แปะผิวหนังใน 1 รอบเดือน (รอบเดือนปกติของสตรีจะมีระยะเวลาประมาณ 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์) โดยใน แผ่นของยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะ จะแปะผิวหนังได้นาน 1 สัปดาห์ และต้องใช้ต่อเนื่อง 3 สัปดาห์ของรอบเดือน ส่วนสัปดาห์ที่ 4 เป็นช่วงที่ไม่มีการใช้ยา สรุป คือ ใน1 รอบเดือน ให้แปะแผ่นยาคุมกำเนิด 3 สัปดาห์ และหยุดแปะ 1 สัปดาห์
เริ่มแปะแผ่นยาในวันแรกที่มีประจำเดือน โดยใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันแรกที่รอบเดือนมา ซึ่งเริ่มใช้แผ่นแปะคุมกำเนิดภายใน 24 ชั่วโมงในวันแรกที่รอบเดือนมา และนับวันที่แปะแผ่นคุมกำเนิดในวันนี้เป็นวันที่หนึ่งของการใช้ยาคุมกำเนิด ซึ่งวันเปลี่ยนแผ่นยาจะตรงกับวันที่แปะแผ่นยาคุมกำเนิดวันนี้ในทุกสัปดาห์ และมีผลในการคุมกำเนิดทันที่ ไม่ต้องใช้การคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย
เริ่มแปะแผ่นยาในวันอาทิตย์ ระหว่างสัปดาห์ที่มีประจำเดือนมา โดยเริ่มใช้ยาคุมกำเนิดชนิดแผ่นแปะในวันอาทิตย์ ส่วนรอบต่อไปก็เปลี่ยนแผ่นแปะทุกวันอาทิตย์ ทั้งนี้ในช่วง 7 วันแรก ควรใช้การคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วย บริเวณที่เหมาะสมในการแปะแผ่นยาคุมกำเนิด คือ สะโพก หน้าท้อง ต้นแขนด้านนอก หรือ แผ่นหลังช่วงบน แต่ห้ามแปะบริเวณหน้าอก

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย:
-          แนะนำวิธีการแปะแผ่นยาที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย
-          ห้ามใช้เครื่องสำอาง โลชั่น หรือครีม บนผิวหนังบริเวณที่จะแปะแผ่นยาและห้ามแปะแผ่นยาขณะที่ผิวหนังยังไม่แห้งสนิท
-          ฉีกซองยาที่รอยบากตรงมุมของซอง แล้วดึงแผ่นยาสีเนื้อ พร้อมแผ่นพลาสติกใสที่ติดอยู่ออกจากซองยาพร้อมๆกันโดยห้ามโดนบริเวณที่เป็นกาว
-          ลอกแผ่นพลาสติกใสซีกหนึ่งออกจากแผ่นยาคุมกำเนิด จากนั้นติดแผ่นยาคุมกำเนิดบนผิวหนังที่สะอาดและแห้งสนิททันที แล้วจึงดึงแผ่นพลาสติกอีกซีกหนึ่งออกจากแผ่นยา พร้อมทั้งติดแผ่นยาคุมกำเนิดส่วนที่เหลือให้แนบสนิทกับผิวหนังทั่วทั้งแผ่น
-          ผู้ใช้ควรกรีดแผ่นยาคุมกำเนิดให้ของแนบสนิทกับผิวหนังประมาณ 10 วินาที

ข้อควรปฏิบัติในกรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาคุมกำเนิด
-          กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์แรกของรอบเดือน ให้แปะยาแผ่นใหม่ทันที่ที่นึกขึ้นได้ วันเปลี่ยนแผ่นยาจะเปลี่ยนใหม่จะเป็นวันใหม่นี้แทน และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นด้วย เช่น สวมถุงยางอนามัยใน 7 วันแรก
-          กรณีลืมเปลี่ยนแผ่นยาในสัปดาห์ที่ 2 หรือ 3 ของรอบเดือน
-          หากลืมน้อยกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะแผ่นยาใหม่ทันทีที่นึกได้ และวันเปลี่ยนแผ่นยาคงเป็นวันเดิม ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีทุมกำเนิดอื่นร่วมด้วย
-          หากลืมมากกว่า 48 ชั่วโมง ควรปฏิบัติดังนี้ แปะยาแผ่นใหม่ทันทีที่นึกขึ้นได้ ให้นับยาแผ่นใหม่ที่แปะนี้เป็นยาแผ่นแรกของรอบการใช้ยาแผ่นใหม่ทันที และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก

ข้อควรปฏิบัติในกรณีแผ่นยาคุมกำเนิดหลุดลอก
-          กรณีแผ่นยาหลุดน้อยกว่า 1 วัน แปะยาแผ่นใหม่ทันที แล้วเปลี่ยนแผ่นยาใหม่ในวันเปลี่ยนแผ่นยาตามกำหนด
-          กรณีลืมแผ่นหลุดนานเกิน 1 วัน ผู้ใช้ควรหยุดรอบการนับการใช้แผ่นยาเดิม และให้เริ่มต้นการใช้แผ่นยาคุมกำเนิดรอบใหม่ทีนที และนับวันนี้เป็นวันแรกของการใช้รอบใหม่ และต้องคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่นร่วมด้วย เช่น สวมถุงยางอนามันใน 7 วันแรก

อาการอันไม่พึงประสงค์
-          คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ
-          อาจพบอาการคันเล็กน้อยในตำแหน่งที่แปะในแผ่นแรกของการใช้ยา ซึ่งอาการคันจะทุเลาลงใน 3-4 วัน
-          อาจพบเลือกออกกะปริดกะปรอยได้ในรอบเดือนแรกของการใช้ยา
-          ประสิทธิภาพของยาคุมกำเนิดจะลดลง เมื่อใช้กับสตรีที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม



เอกสารอ้างอิง  
1.             ORTHO EVRA [package labeling]. Raritan, NJ: Ortho-McNeil Pharmaceutical, Inc.; 2001
2.             Abrams LS, Skee DM, Natarajan J, et al. Multiple-dose pharmacokinetics of a contraceptive patch in healthy women participants. Contraception. 2001;64:287-294
3.             Skee D, Abrams LS, Natarajan J, et al. Pharmacokinetics of a contraceptive patch at 4 application sites. Clin Pharmacol Ther. 2000;67:159. Abstract PIII-71
4.             Ortho evra : the only once-a-week birth control patch . Ortho-McNeil Pharmaceutical, Inc. 2005.
5.             Geoffrey H. Smallwood, Mary L. Meador, John P. Lenihan, Jr,Gary A. Shangold, Alan C. Fisher, George W. Creasy. Efficacy and Safety of a Transdermal Contraceptive System [online] available from http://acogjnl.highwire.org/cgi/reprint/98/5/799.pdf [accessed date 20 Aug 2006]