วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

นี่คือเหตุผลของการกิน Mg(OH)2 แล้วท้องเสีย(ยาระบาย) แต่กิน Al(OH)3 แล้วท้องผูก

นี่คือเหตุผลของการกิน Mg(OH)2 แล้วท้องเสีย(ยาระบาย) แต่กิน Al(OH)3 แล้วท้องผูก เคยเข้าใจกันว่า Mg ion ดูดน้ำเข้าหาตัว แต่มันไม่ใช่......

ไอออนบวกของสารทั้งสองตัวเมื่อเจอกับ HCl ในกระเพาะอาหารจะเกิดเกลือคลอไรด์ ได้แก่ MgCl2 และ AlCl3 ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้มันทำให้เกิดอาการท้องเสีย และท้องผูกตามมา

MgCl2 เป็นสารที่เรียกว่า hygroscopic (ดูดน้ำ) ตัวมัน 1 โมเลกุล ดึงน้ำไว้กับตัวได้ 6 โมเลกุล จึงทำให้ "ขี้" มีความเหลวเกิดขึ้น

AlCl3 ก็เป็นสารที่ดูดน้ำได้เหมือนกัน โดยตัวมัน 1 โมเลกุลก็เก็บน้ำไว้ได้ 6 โมเลกุลเช่นเดียวกัน แต่ AlCl3 มันมีความพิเศษตรงที่ตัวมันมีคุณสมบัติเป็น Lewis acid (สารที่แสดงความเป็นกรดโดยที่ไม่ต้องมีไฮโดรเจนในโมเลกุล ซึ่งพบในพวกเกลือของพวกธาตุหมู่ 3 เป็นต้น) ด้วยคุณสมบัตินี้มันก็เลยทำตัวแบบกรดอ่อนทั่วๆ ไป ซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาชนิดผันกลับ .... ทำให้ได้ตัว Al(OH)3 ซึ่งเป็นของแข็งกลับมาอีกครั้ง "ขี้" เลยแข็ง เป็นที่มาของอาการท้องผูก........

จริงๆพวกนี้เป็นแค่กลไกหนึ่งนะ แบบ magesium เช่น ในหนังสือ goodman gilman กลไกแรกที่ purpose ในการทำให้เกิด diarrhea คือการกระตุ้น cholecystokinin ทำให้เกิด การเพิ่มของ intraluminal fluid และ electrolyte accumulation แล้วก็ยังส่งผลเพิ่ม intestinal motility ด้วย ถ้าอ่านไปอีก ก็จะเจอเกี่ยวกับ nitric oxide อีก ^^

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

น้ำมันมะพร้าวกับการลดน้ำหนัก

น้ามันมะพร้าว กับ การลดน้าหนัก
น้ามันมะพร้าว (coconut oil) คือน้ามันที่ได้จากการสกัดแยกน้ามันจากเนื้อผลของต้นมะพร้าว (Cocos nucifera L.) ซึ่งเป็นพืชในตระกูลปาล์ม (Arecaceae หรือ Palmae) ผลิตภัณฑ์น้ามันมะพร้าวที่จาหน่ายในท้องตลาดและได้รับความสนใจในขณะนี้ คือ virgin coconut oil ซึ่งหมายถึงน้ามันมะพร้าวที่ใช้วิธีการสกัดแยกจากเนื้อมะพร้าวโดยไม่ผ่านกระบวนการที่ใช้ความร้อนสูงและไม่ผ่านกระบวนการแปรรูปทางเคมี วิธีที่ใช้ในการเตรียม virgin coconut oil เช่น วิธีบีบเย็น เป็นต้น องค์ประกอบหลักของน้ามันมะพร้าวเป็นกรดไขมันอิ่มตัว (มากกว่า 90% จากปริมาณกรดไขมันทั้งหมด) แต่กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ที่พบในน้ามันมะพร้าวนั้นเป็นกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (medium chain fatty acid) เช่น กรดลอริก (lauric acid) ซึ่งเมื่อรับประทานและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะถูกเผาผลาญได้ดี จึงถูกสะสมในเนื้อเยื่อไขมัน (adipose tissue) ได้น้อยกว่ากรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว (long chain fatty acid) เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่พบมากในน้ามันถั่วเหลือง เป็นต้น (1, 2)
จากคุณสมบัติดังกล่าวของน้ามันมะพร้าว ส่งผลให้น้ามันมะพร้าวได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในการรับประทานเพื่อช่วยลดความอ้วน จากรายงานการศึกษาทางคลินิก (randomised, double-blind, clinical trial) ในประเทศบราซิล (3) ทาการทดสอบเปรียบเทียบผลระหว่างกลุ่มที่รับประทานน้ามันมะพร้าวและกลุ่มที่รับประทานน้ามันถั่วเหลืองในผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนลงพุง (abdominal obesity) มีอายุระหว่าง 20-40 ปี (กลุ่มละ 20 คน) รับประทาน 30 มล.ต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างการทดสอบผู้ทดสอบทุกคนจะได้รับอาหารพลังงานต่า (hypocaloric diet) และออกกาลังกาย 4 วัน/สัปดาห์ หลังสิ้นสุดการทดลองพบว่า น้ามันมะพร้าวไม่ทาให้น้าหนักตัวและ body mass index (BMI) เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง เมื่อดูผลการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในเลือดพบว่า กลุ่มที่ได้รับน้ามันมะพร้าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) แต่มีระดับไขมันตัวดี (HDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.03 ในขณะที่กลุ่มที่ได้รับน้ามันถั่วเหลือง มีระดับคลอเลสเตอรอลรวมและไขมันตัวร้าย (LDL) เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.45 และ 23.48 ตามลาดับ และมีระดับไขมันตัวดี (HDL) ลดลงร้อยละ 12.62 เมื่อเทียบกับก่อนเริ่มการทดลอง อย่างไรก็ตามระดับไตรกลีเซอไรด์ของทั้งสองกลุ่มไม่เปลี่ยนแปลง
แม้การศึกษานี้จะแสดงให้เห็นว่าน้ามันมะพร้าวไม่ได้มีผลต่อการลดลงของน้าหนักตัวของกลุ่มทดลอง และไม่ทาให้ระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (คลอเลสเตอรอลรวม ไขมันตัวร้าย (LDL) และไตรกลีเซอไรด์) เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มระดับไขมันตัวดี (HDL) ที่ช่วยลดอัตราการเกิดโรคดังกล่าวด้วย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ทาการทดสอบในกลุ่มคนจานวนน้อย และระยะเวลาที่ทดลองก็เป็นเพียงช่วงสั้นๆ (12 สัปดาห์) นอกจากนั้นการได้รับอาหารพลังงานต่าและการออกกาลังกายสม่าเสมอ (4 วัน/สัปดาห์) ก็นับเป็นปัจจัยร่วมสาคัญที่อาจส่งเสริมให้ผลการทดลองเป็นไปในทางที่ดี จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อดูผลของน้ามันมะพร้าวต่อการลดน้าหนักและการสะสมของระดับไขมันดังกล่าวในระยะยาว ดังนั้นจากข้อมูลที่มีในขณะนี้จึงยังไม่เพียงพอที่จะสรุปได้ว่าน้ามันมะพร้าวมีผลต่อการลดน้าหนักหรือจะส่งผลดีต่อระดับไขมันที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และหากจะให้แนะนาถึงหนทางที่ดีและปลอดภัยที่สุดในขณะนี้สาหรับผู้ที่ต้องการลดน้าหนักก็คงจะหนีไม่พ้นการควบคุมอาหารและออกกาลังกายอย่างสม่าเสมอ
โดย ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิยาลัยมหิดล
เอกสารอ้างอิง
1. Marten B, Pfeuffer M, Schrezenmeir Jr. Medium-chain triglycerides. International Dairy Journal. 2006;16(11):1374-82.
2. สานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ. มะพร้าว. วารสารพืชปลูกพื้นเมืองไทย. 2548 กรกฎาคม;1(3).
3. Assuncao ML, Ferreira HS, dos Santos AF, Cabral CR, Jr., Florencio TM. Effects of dietary coconut oil on the biochemical and anthropometric profiles of women presenting abdominal obesity. Lipids. 2009 Jul;44(7):593-601.
ที่มา  http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=17